วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2550-2554

            ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะปี 2550-2554 ในแผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย ฉบับที่ 2 ได้กำหนดการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับตัวผู้ประกอบการและกิจการ ระดับสาขาธุรกิจ รวมทั้งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคและท้องถิ่น และจะต้องสนับสนุนปัจจัยเอื้อที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถทางนวัตกรรมให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย


วิสัยทัศน์และเป้าหมาย

            วิสัยทัศน์ของการส่งเสริม คือ การเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยเพื่อให้สามารถเติบโตอย่างสมดุล ต่อเนื่อง และยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและการทำธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยฐานความรู้ และความสามารถในเชิงทักษะฝีมือ

            มิติการส่งเสริม มุ่งเน้นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับสาขาธุรกิจ ในพื้นที่และในระดับตัวผู้ประกอบการซึ่งพิจารณาตามสภาพการพัฒนาของกิจการด้วย ได้แก่ระยะก่อนเริ่มกิจการ ระยะเริ่มต้น ระยะเติบโต ระยะอยู่ตัว และระยะถดถอย ปรับตัว โดยการส่งเสริมจะให้ความสำคัญกับกิจการที่มีการปรับตัวด้านความโปร่งใสและประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ ให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิต ภาพการผลิต การจัดการ ความสามารถในการสร้างนวัตกรรม และการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเน้นปรับระบบการจัดการหรือการทำงานส่งเสริมในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ธุรกิจ SMEs ไทย

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมธุรกิจ SMEs ไทยกับการแข่งขันในทศวรรษที่ 21

            วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจโดยมีจำนวนถึงประมาณร้อยละ 99 ของธุรกิจทั้งหมดวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจึงมีบทบาทสำคัญในการเป็นฐานรากการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นกลไกหลักในการฟื้นฟูและเสริมสร้างความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจรวมทั้งเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาความยากจนข้อมูลที่ยืนยันถึงบทบาททางเศรษฐกิจไทยที่สำคัญดังกล่าวได้แก่ การก่อให้เกิดการจ้างงานคิดเป็นสัดส่วนถึงกว่าร้อยละ 76 ของการจ้างงานรวมของประเทศ บทบาทในการสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ประมาณร้อยละ 39 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศทั้งหมดและมีมูลค่าการส่งออกโดยตรงคิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 29 ของมูลค่าการส่งออกรวม


ปัญหาอุปสรรค SMEs ไทย

            สภาพปัญหาอุปสรรค ทั้งที่เกิดจากข้อจำกัดของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอง หรือจากการขาดปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐและจากปัจจัยภายนอกกิจการได้ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ที่สำคัญ ได้แก่ การที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยส่วนใหญ่ยังมีประสิทธิภาพด้านการผลิต การจัดการต่ำ และขาดขีดความสามารถในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม การสร้างและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งนำไปสู่การขาดความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูงมีนวัตกรรมมีความแตกต่าง และนำไปสู่ปรากฎการณ์ของปัญหาหลายประการ เช่น มีการขยายตัวต่ำ มีการหดตัวในบางสาขาเศรษฐกิจ (ภาคการค้า) รวมทั้งมีการส่งออกสินค้าในกลุ่มที่เป็นสินค้าปฐมภูมิและใช้แรงงานมากที่มีมูลค่าต่ำเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยไทยยังมีโอกาสและลู่ทางที่ดีทางด้านการผลิตสินค้าและบริการที่ใช้ภูมิปัญญาในประเทศ ความรู้สั่งสม ทักษะฝีมือ ความปราณีต อัธยาศัยไมตรี และวัตถุดิบภายในประเทศ ที่สอดคล้องกับความต้องการและแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคสมัยใหม่ รวมทั้งโครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อยไทยมีการปรับตัว หลีกหนีจากการแข่งขันในตลาดล่างไปสู่การผลิตป้อนตลาดระดับกลางและระดับบนขึ้นไปที่ใช้องค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความเป็นไทยในการผลิตและการจัดการโดยจะต้องได้รับการสนับสนุนในด้านปัจจัยเอื้อและโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจากภาครัฐด้วย


โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (พ.ศ.2551-2555)

เนื่องจากโลกในปัจจุบันกำลังตื่นตัวกับการเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมฐานความรู้ ซึ่งถือเป็นแนวคิดสำคัญของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนาใช้ผลักดันให้เกิดสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้โดยสร้างความเข้มแข็งในระบบนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา พ.ศ. 2551-2555 ขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วนหลัก คือ โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา และ ระบบการบริหารจัดการความรู้

1.      โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา มีองค์ประกอบ ดังนี้

ทรัพยากรมนุษย์ มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นตัวกลางในการสร้าง กระจาย และใช้ความรู้ ฉะนั้นการให้การศึกษาและการฝึกอบรมจะต้องมีมาตรฐานสูงและเป็นไปอย่างกว้างขวาง ตลอดชีวิตการทำงานของบุคคล

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งหมายถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประมวล เก็บรักษา ถ่ายโอนและสื่อสารข้อมูลทั้งข้อความเสียงและภาพ โดยถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ในการทำให้ประชาชนและธุรกิจ สามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลกและดึงสารสนเทศนั้นออกมาเป็นความรู้โดยเฉพาะบริการอินเทอร์เน็ต

วัฒนธรรมและจริยธรรมในสังคม  จะต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กรและปัจเจกบุคคลวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการ และค่านิยมของสังคมที่ยอมรับแนวความคิดใหม่ๆและยอมรับความล้มเหลว เป็นตัวกระตุ้นให้คนในสังคมกล้าคิดค้นนวัตกรรมซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง

กฎหมายและแรงจูงใจ ในที่นี้คือการออกกฎหมายและกฎระเบียบที่ยอมรับว่าความรู้เป็นสินทรัพย์ เพื่อเป็นฐานการดำเนินงานของเศรษฐกิจ / สังคมฐานความรู้การวางระบบทรัพย์สินทางปัญญาให้มีความสมดุลระหว่างการส่งสริมการสร้างความรู้ใหม่และการแพร่กระจาย

โครงสร้างพื้นฐานและสถาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการสร้าง แพร่กระจาย และใช้ความรู้ อาทิ สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัย อุทยานวิทยาศาสตร์ ศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีและนวัตกรรม ศูนย์วิเคราะห์ทดสอบและมาตรวิทยาและระบบสอบเทียบและมาตรฐานเพื่อปรับเปลี่ยนมาตรฐานการผลิตของประเทศสู่มาตรฐานสากล

2.      ระบบการบริหารจัดการความรู้ มีองค์ประกอบดังนี้

การผลิตความรู้  โดยการค้นคว้าวิจัยพัฒนาออกแบบและทำวิศวกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ใหม่และการได้มาซึ่งความรู้ที่มีอยู่แล้ว

การแพร่กระจายความรู้  โดยให้การศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ฝังเข้าไปในตัวคนหรือการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณชนโดยวิธีการต่างๆ

การใช้ความรู้  คือการใช้ความรู้ไปแก้ปัญหาโดยเฉพาะให้ความรู้เข้าไปสู่กระบวนการทางอุตสาหกรรม การเกษตร  และบริการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ




เป้าหมาย : แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา

            แผนแม่บทฉบับนี้มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาในด้านการเพิ่มความสามารถในการสร้างและการใช้ประโยช์ความรู้เพื่อนำไปสู่การเจริญเจิบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนโดยมีจุดหมายของการพัฒนา คือ ภายในปี 2555 ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมาย 3 ประการดังนี้

เป้าหมายที่ 1 : ร้อยละ 35 ของสถานประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตมีนวัตกรรมทางเทคโนลี

เป้าหมายที่ 2 : มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา การวิจัย และการเรียนการสอน

เป้าหมายที่ 3 : อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในด้านบุคลากรวิจัยและพัฒนา และสิทธิบัตรที่จัดทำโดย International  Institute for Management Development อยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง


ประโยชน์ : โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา

            แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ปี พ.ศ.2551-2555 จะทำให้สังคมไทยมีพัฒนาการทางโครงสร้างที่แข็งแกร่งสามารถยืนหยัดต่อสู้ในภาวะการแข่งขันรอบด้านได้อย่างสมดุลโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเป็นหัวจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งต่อไป โดยแผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

1.      เพื่อเร่งรัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนภาคการผลิต และเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน

2.      เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคส่วนต่างๆ ซึ่งจะสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม นักธุรกิจ นักวิจัย ระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจและประชาชนทั่วไป




ยุทธศาสตร์.....สู่ความสำเร็จ

            แผนนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิตความรู้ อันประกอบด้วยสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา จึงได้กำหนดกลยุทธ์การพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันดังนี้

ยุทธศาสตร์เพิ่มความสามารถทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาคการผลิต

            เป็นการสร้างช่องทางความร่วมมือเพื่อเข้าถึงมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันรวมทั้งกฎหมายและแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาระบบคุณภาพ เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งสร้างความตระหนักและความเข้าใจในทรัพย์สินทางปัญญา และช่องทางในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญา

ยุทธศาสตร์สร้างความเข้มแข็งของแหล่งผลิตความรู้

            พัฒนาศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้เข้มแข็ง และทำงานตรงกับความต้องการของภาคการผลิต โดยการถ่ายทอดความรู้ระดับสูงระหว่างภาคการผลิตและสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคการผลิตและบริการและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนที่มีทักษะในการประดิษฐ์คิดค้น

ยุทธศาสตร์สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งผลิตความรู้และผู้ใช้ความรู้

            การพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมอุตสาหกรรมกลุ่มย่อยประกอบด้วยกิจกรรมทั้งในส่วนการสร้างความเชื่อมโยงและการเพิ่มความสามารถของภาคการผลิต ตลอดจนแหล่งผลิตความรู้การดำเนินงานจะทำในลักษณะชุดโครงการที่มีการออกแบบให้สอดคล้องและประสานกันทุกส่วน โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาผู้ประกอบการผลิตในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะซึ่งจะมีการคัดเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมนำร่องเพื่อทำการพัฒนาเครือข่ายนวัตกรรมนั้น



ยุทธศาสตร์สู่ความสำเร็จ

ยุทธศาสตร์......สู่ความสำเร็จ

            เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ทุกประการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแผนยุทธศาสตร์ที่ดีอันจะนำไปสู่ความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจึงได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การยกระดับความสามารถทักษะแรงงาน (Human Skill) ทั้งแรงงานที่มีอยู่เดิมและแรงงานที่กำลังเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 

โดยยกระดับความรู้ ทักษะแรงงานทั้งเก่าและใหม่ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง สนับสนุนให้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานทั้งในและนอกระบบ และให้ความสำคัญกับค่าตอบแทนโดยกำหนดให้มีองค์กรหรือหน่วยงานรับรองมาตรฐาน (Certification Authority) สำหรับทดสอบฝีมือแรงงาน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ (Management) ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

นำระบบ IT มาใช้ในกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต และส่งเสริมการจัดทำฐานข้อมูลเชิงเปรียบเทียบหรือ Benchmarking , Best Practices เพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของกลุ่มอุตสาหกรรม ตลอดจนสร้างจิตสำนึกและแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพแก่ผู้ประกอบการ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักร

ส่งเสริมการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพในการผลิต

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม

ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนพัฒนาระบบ Logistics ภายในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจ และ Supply Chain

สนับสนุนการรวมกลุ่มธุรกิจในลักษณะเครือข่าย วิสาหกิจ และ Supply Chain เพื่อเชื่อมโยงการผลิตโดยเน้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างกลุ่มที่อยู่ในระดับหัวแถวกับท้ายแถว รวมทั้งกระตุ้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากภาคเอกชนและสร้างจิตสำนึกของผู้บริหาร ผู้ประกอบการในการรวมกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจให้มีความเข้มแข็ง


เป้าหมายและประโยชน์ การพัฒนาผลิตภาพการผลิต


เป้าหมาย : การพัฒนาผลิตภาพการผลิต (Productivity)


            สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดทำแผนแม่บท Productivity ได้มีแนวทางร่วมกันกับภาคเอกชนเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนอันจะนำไปสู่ความแข็งแกร่งของประเทศที่มาจากภายในสู่ภายนอกโดยกำหนดเป้าหมายที่สำคัญ 3 เป้าหมายดังนี้

เป้าหมายที่ 1 :  ผลิตภาพแรงงานของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :  ผลิตภาพแรงงาน (Labor Productivity) ของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 5 ต่อปี

เป้าหมายที่ 2 :  กลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : จำนวนกลุ่มอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทในปี 2551 มีจำนวน 13 กลุ่มอุตสาหกรรมและจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 25 กลุ่มอุตสาหกรรมในปี 2555

เป้าหมายที่ 3 : ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทมีจำนวนเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการภายใต้แผนแม่บทในปี 2551 มีจำนวนไม่น้อยกว่า 4,500 โรงงาน และจะเพิ่มขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 9,000 โรงงานในปี 2555


ประโยชน์ : การพัฒนาผลิตภาพการผลิต  (Productivity)
         
           แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม Productivity ที่จัดทำขึ้นมีวัตถุประสงค์ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนี้

1.      เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพ ซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่ยั่งยืน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

2.      เพื่อแก้ไขปัญหา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งและภูมิคุ้มกันให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทยให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก

3.      เพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาด้วยตนเองและให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพโดยร่วมมือกับภาครัฐในการร่วมคิดร่วมทำ (Collaboration)

4.      เพื่อช่วยผู้ประกอบการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภาพของผู้ประกอบการเองและตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรม ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ทุกประการ



แผนแม่บท พ.ศ.2551-2555

แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพ และผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม (Productivity)
( พ.ศ. 2551-2555 )


               จาก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า รัฐบาลจึงรับมาใส่เกล้าฯ นำมาใช้เป็นแนวทางหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วนของสังคม

               สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับภาคอุตสาหกรรมโดยให้ความสำคัญกับเป้าหมายการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพ เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง จึงได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดทำ “แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551-2555” ซึ่งเป็นรากฐานการเติบโตของผลิตภัณฑ์ประชาชาติอันจะนำมาซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ยั่งยืนในระยะยาวต่อไป


Productivity คืออะไร


            “Productivity” คือ ผลิตภาพการผลิต การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมา เกิดบนพื้นฐานของการขยายตัวในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพโดยอาศัยปัจจัยทุนและแรงงานเป็นหลัก ซึ่งการเพิ่มของผลิตภาพการผลิตโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภาพการผลิตเพื่อสร้างความแข็งแกร่งที่ยั่งยืนให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ

             การพัฒนาผลิตภาพจะประสบผลสำเร็จได้ย่อมจะต้องมาจากปัจจัยภายใน เช่น พื้นฐานด้านทักษะแรงงานที่มีจุดแข็งตลอดจนมีวัตถุดิบที่มีคุณภาพเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนต่อไป



ข้อมูลเพิ่มเติม : พัดลมอุตสาหกรรม  พัดลมระบายอากาศ  พัดลมไอน้ำ  การพัฒนาผลิตภาพ

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การปรับปรุงคุณภาพของน้ำ

              เราทราบแล้วว่าแหล่งน้ำบนผิวดิน เป็นแหล่งน้ำใหญ่และเหมาะที่จะนำมาปรับปรุงคุณภาพแล้วใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ซึ่งมีวิธีการปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้สะอาดได้อยู่หลายวิธี สามารถจะเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพความต้องการของครอบครัวและชุมชนได้ วิธีการต่างๆ คือ

1.       การต้ม    เป็นวิธีที่ทำน้ำให้สะอาดสามารถทำลายเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำให้หมดไปได้ แต่การต้มนั้นต้องต้มน้ำให้เดือดนาน 15 นาที ความร้อนจะไปทำลายเชื้อจุลินทรีย์ให้หมดไป คุณภาพของน้ำทางกายภาพไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนคุณสมบัติทางเคมีอาจเปลี่ยนแปลงไปได้บางเล็กน้อย เช่น ทำลายการกระด้างชั่วคราวลงได้


2.       การกลั่น   โดยใช้ความร้อนต้มน้ำให้กลายเป็นไอแล้วให้ไอนี้ผ่านท่อที่มีความเย็น ไอจะจับตัวกันเป็นน้ำและน้ำที่ได้นี้เรียกว่าน้ำกลั่น การปรับปรุงวิธีนี้จะได้น้ำที่สะอาดมาก ส่วนใหญ่มักจะนำไปใช้ในกิจการแพทย์



3.       การกรอง  เป็นวิธีจัดหาน้ำสะอาดมาใช้ภายในครอบครัว เป็นที่นิยมกันมาก การกรองนี้มีอยู่ 2 ชนิด  ชนิดแรกกรองด้วยทรายละเอียดและชนิดที่สองเป็นการกรองด้วยกระเบื้องเคลือบ ซึ่งมีความพรุนพอที่จะให้น้ำผ่านได้



4.       การใช้สารเคมี  มีสารเคมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติทำลายเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำ  สารเคมีที่นิยมใช้แพร่หลายมาก คือ สารคลอรีน  เกิดอยู่ในรูปของสารประกอบคลอไรด์ เป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นก๊าซจะมีสีเขียวปนเหลือง มีกลิ่นฉุนเป็นพิษ ถ้าอยู่ในอากาศ 40-60 ส่วนในล้าน สูดหายใจเข้าไปนาน 30 นาที จะทำให้เกิดอันตรายถ้า 1,000 ส่วนในล้านทำให้ตายได้ใน 2-3 นาที และเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศละลายในน้ำได้ ทำเป็นของเหลวหรือของแข็งเป็นสีเหลืองคลอรีนราคาไม่แพง  มีฤทธิ์ทำลายสูง 


มลภาวะของน้ำ

               การเกิดมลภาวะของน้ำนั้นส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ได้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นมามากมาย และโรงงานเหล่านี้มักจะตั้งโรงงานอยู่ติดกับแม่น้ำลำคลอง เพราะสะดวกในการใช้น้ำระบายความร้อน ชะล้างเครื่องมือเครื่องใช้ ชำระล้างสิ่งปฏิกูลต่างๆ ของโรงงาน น้ำเสียและสิ่งปฏิกูลเหล่านี้มักจะทิ้งลงไปในแม่น้ำลำคลอง เมื่อมีจำนวนมากก็เกิดมลภาวะขึ้น นอกจากนั้นจำนวนประชากรที่ตั้งบ้านเรือน โรงแรม โรงพยาบาลติดอยู่กับแม่น้ำ ลำคลองก็ช่วยให้น้ำในแม่น้ำลำคลองสกปรกมากขึ้น โดยได้ทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลต่างๆลงไป สรุปแล้วน้ำเน่าเสียหรือเกิดมลภาวะขึ้นมีแหล่งกำเนิดอยู่หลายประการคือ

Ø  มลภาวะของน้ำที่เกิดจากประชาชน  ที่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยติดกับแม่น้ำ ลำคลองได้ทิ้งของเสีย เช่นอุจจาระ ขยะมูลฝอย น้ำจากครัวเรือน น้ำเสียจากการชำระล้างอุปกรณ์ และชำระล้างร่างกายลงสู่แม่น้ำ ของเสียเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์ เมื่อทิ้งลงไปมากๆ นอกจากจะทำให้แม่น้ำ ลำคลองตื้นเขินแล้วยังทำให้น้ำเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ตัวอย่าง เช่น คลองหลอด คลองแสนแสบ และแม่น้ำเจ้าพระยา เหตุที่น้ำเกิดเน่าเสียขึ้นนี้ก็เพราะ น้ำขาดออกซิเจน เนื่องมาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์จนออกซิเจนที่มีอยู่ในน้ำหมดสิ้น ปกติในน้ำจะมีออกซิเจนละลายอยู่ไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนึ่งลิตรและการที่มีออกซิเจนอยู่ในน้ำเพียงเล็กน้อยนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตมาก โดยเฉพาะพวกเชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสารอินทรีย์เป็นอาหาร การใช้ออกซิเจนของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำเราเรียกว่า “ความต้องการออกซิเจนทางชีวเคมี”  (Biochemical Oxygen Demand) หรือเรียกย่อๆ ว่า  B.O.D ค่า บี.โอ.ดี นี้แสดงถึงปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ต้องการใช้ในการสะลายสารอินทรีย์ในน้ำ ฉะนั้นจึงใช้วัดมลภาวะของน้ำโดยหาค่าของ บี.โอ.ดี ถ้าค่าของ บี.โอ.ดี  สูงแสดงว่าน้ำนั้นมีสารอินทรีย์อยู่มากโดยที่เชื้อจุลินทรีย์สลายสารอินทรีย์และได้ใช้ออกซิเจนให้สิ้นไป หรือใช้จนเหลือน้อยลงมาก

Ø  มลภาวะของน้ำที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม   เป็นแหล่งใหญ่ที่ทำให้เกิดมลภาวะทางน้ำเพราะโรงงานส่วนใหญ่จะตั้งโรงงานติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ทะเล ทะเลสาป ทั้งนี้เพราะโรงงานต้องใช้น้ำ นอกจากจะใช้ชะล้างอุปกรณ์ภายในโรงงานแล้ว ยังใช้ในกระบวนการผลิตด้วย น้ำเสียเหล่านี้ก็จะปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง ทะเล จนเกิดมลภาวะขึ้น มีบางโรงงานได้ปล่อยน้ำเสียเข้าไปในที่นา พื้นที่เกษตรกรรมจนพื้นที่ดังกล่าวเสียหาย พืชผักไม่ขึ้น เพราะน้ำเสียจากโรงงานมีสารเคมีกรด สารอินทรีย์มากมายพอจะแยกสิ่งปฏิกูลต่างๆ ที่โรงงานมักง่ายได้ปล่อยลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล คือ สารเคมีที่ลอยละลายอยู่ในน้ำ ได้แก่ โซเดียม แมกนีเซี่ยม เหล็ก แมงกานีส ซัลเฟต ปรอท ตะกั่ว ยาฆ่าแมลง และปราบศัตรูพืช ฯลฯ ที่เกิดมลพิษปรากฎขึ้นอยู่เนื่องๆ




 อันตรายเนื่องมาจากมลภาวะของน้ำ

1.                        ทำให้น้ำมีกลิ่นและรสเปลี่ยนไป    กลิ่นของน้ำจะเปลี่ยนไปเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำจะย่อยสลายสารอินทรีย์ ทำให้เกิดก๊าซขึ้น เช่น ก๊าซไฮโดรเจน ซัลไฟด์ ที่มีกลิ่นเหม็นมากและยังทำให้เกิดก๊าซอื่นๆ อีกมากมาย รสของน้ำเปลี่ยนไปก็เพราะน้ำได้รับสารเคมีกรด ด่าง เกลือจากโรงงานอุตสาหกรรมจากอาคารที่อยู่อาศัยเมื่อนำน้ำนี้มาใช้ก็จะเกิดอันตรายได้

2.                        ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค    ปกติน้ำที่มีเชื้อโรคมักจะมาจากสถานพยาบาล โรงพยาบาลและแหล่งชุมชนที่อยู่ติดกับแม่น้ำได้ปล่อยสิ่งปฏิกูลลงไปในน้ำทำให้น้ำมีเชื้อโรค เมื่อนำน้ำมาใช้เช่นใช้ทำน้ำแข็ง คนบริโภคเข้าไปย่อมมีโอกาสได้รับเชื้อโรคเข้าไปได้

3.                        ทำให้ปริมาณก๊าซออกซิเจนน้อยลง    ก๊าซออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำมีความสำคัญอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ เช่นเดียวกับความสำคัญของก๊าซออกซิเจนในอากาศต่อมนุษย์เช่นกัน  สัตว์น้ำและพืชน้ำจะต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสารอินทรีย์ เมื่อในน้ำไม่มีออกซิเจน สัตว์น้ำและพืชน้ำก็จะตายไม่สามารถอยู่ในน้ำได้ทำให้สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติไปด้วย

4.                        ทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำ    สภาพของน้ำเน่ามักมีสีดำคล้ำไม่น่าดูและมีกลิ่นเหม็น สภาพเช่นนี้ทำลายความสวยงามของแหล่งน้ำและทัศนียภาพริมแหล่งน้ำนั้นๆ เสียสิ้น

5.                        มีผลเสียต่อการเกษตรและการประมง   ด้านการเกษตร มลภาวะของน้ำก่อให้เกิดความเสียหายต่อพืช  ส่วนใหญ่มักเนื่องมาจากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและการใช้ยาฆ่าแมลงและปราบศัตรูพืช ฝนตกชะล้างเอายาเหล่านี้ลงไปในแม่น้ำแล้วนำมาใช้ด้านเกษตรก็จะเป็นอันตราย  ด้านการประมง  มลภาวะของน้ำนอกจากน้ำจะขาดออกซิเจนแล้ว ในน้ำยังมีสารเคมีเป็นพิษทำให้สัตว์น้ำ พืชน้ำเจริญเติบโตไม่ได้เต็มที่หรือตาย ทำให้เสียหายต่อการประมงเป็นอย่างยิ่ง

6.                        ผลเสียต่อสุขภาพ  ประชาชนผู้ใช้แหล่งน้ำที่น้ำเน่าเสียอาจจะได้รับเชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นพิษเข้าไปได้ เช่น ในน้ำมีโลหะหนักปนอยู่จะมีผลต่อร่างกาย  อันตรายจากโลหะหนักเหล่านี้ทางอ้อม  ได้แก่การที่มันเข้าไปสะสมอยู่ในตัวของสัตว์น้ำต่างๆ แล้วเรานำสัตว์น้ำเหล่านี้มาบริโภค ก็เท่ากับว่าเราได้บริโภคสารเคมีเป็นพิษเหล่านี้เข้าไปด้วย


น้ำบนผิวโลก


                 น้ำบนผิวโลก  ได้แก่  น้ำในแม่น้ำลำคลอง  ห้วย  หนองน้ำ  บึง  ทะเล  ทะเลสาบ  มหาสมุทร เป็นต้น นับว่าเป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่พบได้ทั่วๆไป คุณภาพของน้ำจะสกปรก เพราะมีพวกอินทรีวัตถุและอนินทรีย์วัตถุ  และเชื้อโรคปะปนอยู่เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังมีเกลือแร่ แบคทีเรีย ละลายปนอยู่ด้วย  แต่ก็เป็นแหล่งน้ำสำคัญเพราะหาได้ง่ายและสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพให้กลายเป็นน้ำสะอาดสำหรับบริโภคได้  เช่น น้ำประปา  เป็นต้น

                     ดังได้กล่าวแล้วว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ พืช ก็ตามหากขาดน้ำแล้วจะทำให้เซลล์แห้งและเฉาตายไปในที่สุด ดังนั้นต้องได้รับน้ำที่สะอาดอย่างเพียงพอื หากได้รับน้ำที่สกปรก มีเชื้อโรคย่อมเกิดโทษอย่างมหันต์ ปกติน้ำจะรักษาความสะอาดโดยธรรมชาติอยู่เสมอ

                เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้นได้ปล่อยของเสียของไม่ต้องการลงไปในแม่น้ำ จึงทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียเพราะแบคทีเรียไม่สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำให้หมดไปได้ ทำให้น้ำขาดอ๊อกซิเจน  สัตว์น้ำก็ตาย เกิดมลภาวะขึ้น



น้ำในบรรยากาศ

              น้ำในบรรยากาศ  ได้แก่  น้ำฝน  น้ำค้าง  ลูกเห็บ  หิมะ  ซึ่งเกิดขึ้นตามฤดูกาลและสถานที่ต่างๆ กัน แล้วแต่ภูมิประเทศน้ำในบรรยากาศที่สำคัญ ก็ได้แก่  น้ำฝน  ซึ่งคนส่วนใหญ่ถือว่าเป็นน้ำที่มีรสดี สะอาด มักจะเก็บไว้ใช้เป็นน้ำดื่มและเชื่อว่าเป็นน้ำที่ปราศจากเชื้อโรค ซึ่งปัจจุบันอาจจะไม่สะอาดพอที่จะเก็บไว้เป็นน้ำดื่มได้ถ้าทำไม่ถูกวิธี  ทั้งนี้เพราะชั้นของบรรยากาศถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไปสะสมไว้ในบรรยากาศมากมาย  เช่น  มนุษย์สร้างโรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานเหล่านี้ได้ปล่อยฝุ่นละออง เขม่า ควันเสียและกาซต่างๆ ขึ้นสู่บรรยากาศและร้ายที่สุดก็เห็นจะได้แก่  ก๊าซพิษ  ไอเสีย  ควันดำ ที่หลุดจากท่อไอเสียรถยนต์  เนื่องจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในอากาศ  ทำให้เกิดกรดขึ้นได้  ซึ่งกรดเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ดื่มใช้ได้ ก๊าซที่ทำให้น้ำฝนมีสภาพเป็นกรด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์หรือคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อไปรวมตัวกับน้ำฝนก็จะเกิดกรดขึ้นคือกรดคาร์บอนิค และเกิดกรดกำมะถันเนื่องจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไปรวมตัวกับน้ำฝนและออกซิเจนจะเกิดกรดดังสมการเคมี ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และไนโตรเจนไดออกไซด์เมื่อรวมตัวกับน้ำฝนก็จะเกิดกรดดินประสิวหรือที่เรียกว่ากรดไนตริคและออกไซด์ของฟลูออรีน เมื่อรวมตัวกับน้ำฝนที่เป็นกรดก็จะเกิดฟลูออริค ซึ่งกรดเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นกรดแก่ ผลก็คือทำให้น้ำฝนเป็นกรด อันอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ นอกจากนี้ยังทำให้สัตว์น้ำสูญพันธุ์อีกด้วย

 


สภาพภูมิอากาศอื่นๆ

1.       อุณหภูมิ

อุณหภูมิเป็นตัววัดความร้อนที่รู้สึกได้ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิของน้ำ  อากาศ  หรือดิน  สิ่งมีชีวิตจะตอบสนองต่อความร้อนหรือความหนาวของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆตัวเสมอ ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อกระบวนการทางสรีระวิทยาของพืช ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของพืช จะเห็นว่าอุณหภูมิมีอิทธิพลต่อความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ในที่อุณหภูมิต่ำมากๆ น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็งจนพืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ส่วนในที่มีอุณหภูมิสูง การระเหยและการคายน้ำย่อมมีมากทำให้เกิดการสูญเสียน้ำเป็นเหตุให้เกิดความแห้งแล้ง หรือความชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืชมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะที่มีระบบรากตื้นและอยู่ในระยะเริ่มงอกใหม่ๆ นักนิเวศวิทยาจึงมักใช้อุณหภูมิเป็นหลักในการแบ่งเขตการกระจายของสังคมพืช ในกรณีนี้อุณหภูมิวิกฤตหรืออุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดจึงมีความสำคัญมากกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย เช่น พืชในทะเลทรายอาจทนทานต่อสภาพของอุณหภูมิสูงถึง 150 องศาฟาเรนไฮ ส่วนไม้สนบางชนิดจะมีชีวิตอยู่ได้แม้อุณหภูมิจะต่ำกว่า -80 องศา ก็ตาม

2.       ลม

ลมเป็นอากาศที่เคลื่อนไหวไปมาในบรรยากาศของโลก มวลของอากาศก็เหมือนมวลของน้ำ หรือมวลของวัตถุอื่นๆ เพียงแต่มีความหนาแน่นมาก เบา และลอยตัวไปมาได้ง่ายกว่าน้ำ และวัตถุที่เป็นของแข็งอื่นๆ อากาศจะแทรกอยู่ทุกหนทุกแห่งและมีความดันต่อพื้นที่ผิวของทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลว ที่เรียกว่าความดันบรรยากาศ ณ ที่ระดับน้ำทะเล ความกดดันนี้จะเท่ากับประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ( 15 ปอนด์ / ตร.นิ้ว )ความดันต่อ 1 หน่วยพื้นที่ดังกล่าว ความจริงก็คือน้ำหนักจริงๆ ของอากาศบนหน่วยพื้นที่นั้นนับจากระดับน้ำทะเล สูงขึ้นไปจนถึงระดับนอกสุดของบรรยากาศนั้นเอง ด้วยเหตุนี้ ณ จุดที่อยู่สูงจากระดับน่ำทะเลมากเท่าใดความกดอากาศจะลดลงและความหนาแน่นของอากาศก็จะเบาบางลงด้วยเท่านั้น  ถ้าหากโลกนี้มีพื้นผิวราบเรียบและไม่หมุนรอบตัวเองแล้วความดันทุกแห่งในโลกนี้จะเท่ากันหมด และสมมุติว่าความดันที่ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันความดันอากาศจะลดลงทำให้เกิดความแตกต่างในด้านความดันขึ้น 

                นอกจากอุณหภูมิและความชื้นในบรรยากาศที่มีอิทธิพลต่อการตกของฝนแล้ว ลมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยพัดพาเอากระแสอากาศทั้งร้อนและเย็น ตลอดจนเมฆหมอกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ทำให้ฝนตกกระจายไปตามทิศทางที่ลมพัดผ่าน เช่น ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านประเทศไทยก็มักจะพัดพาเอาพายุฝนมาตกด้วยเสมอลมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ช่วยเพิ่มอัตราการระเหยและพัดพาเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วย โดยเฉพาะในบริเวณที่มีอากาศแห้งแล้ง ลมจะทำให้อากาศแห้งยิ่งขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อผลิตผลและการเจริญเติบโตของพืชได้ ตามบริเวณชายฝั่งทะเลลมมักจะแรงทำให้เกิดเนินทรายเคลื่อนที่หรือทำให้ต้นไม้หักเสียหาย บนเขาสูงต้นไม้มักจะเตี้ยแคระแกรน และลู่ไปตามทิศทางลมทำให้ปริมาณกิ่งก้านและใบ ต้านรับลมน้อยกว่าด้านหลังลม ทั้งนี้เนื่องจากกระแสลมแรงเป็นอุปสรรคต่อการปรุงอาหารและการเจริญของตา ใบ และกิ่งก้านของต้นไม้

                บริเวณทุ่งหญ้าที่โล่งเตียนมักจะมีกระแสลมแรงและพัดติดต่อกันตลอดเวลาทำให้อากาศปลอดโปร่ง ปราศจากเมฆหมอก ปริมาณแสงที่ได้รับจึงมีมาก ขณะเดียวกันอุณหภูมิจะสูง อัตราการสูญเสียน้ำจากการระเหยจะสูงตามไปด้วย   พัดลมไอน้ำ

                นอกจากนั้นลมยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกระจายพันธุ์ของพืชโดยการพัดพาเมล็ดปลิวไปตามลมเป็นระยะทางไกลๆ พืชที่กระจายพันธุ์ด้วยลมมีอยู่หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพวกที่มีเมล็ดเล็กและเบา เช่น สปอร์ของพวกมอส และเห็ดรา เมล็ดบางชนิดจะมีขนตามเปลือกที่ห่อหุ้ม เช่น พวกผักชี สาปเสือ ส่วนพวกยาง ตะเคียน เต็งรัง พลวง ที่เมล็ดจะมีปีกช่วยให้ลมพัดพาไปได้สะดวก สำหรับเมล็ดของหญ้ามักมีขนาดเล็กเมื่อแก่เต็มที่ ส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ดจะแตกออกทำให้ลมพัดไปได้ง่าย ลมจึงเป็นปัจจัยช่วยการกระจายพันธุ์ที่สำคัญยิ่ง

3.       ความชื้นและปริมาณน้ำฝน

                น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในโลกของสิ่งมีชีวิต ชีวิตพืชและสัตว์ที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารต้องอาศัยน้ำในการดำรงชีวิต มนุษย์เองก็ใช้ประโยชน์จากน้ำโดยตรงและโดยอ้อม เช่นกัน แหล่งที่มาของน้ำจืดที่สำคัญได้แก่ไอน้ำจากบรรยากาศที่ควบแน่นแล้วตกลงมาเป็นฝน น้ำฝนที่ตกลงมาจะไหลผ่านพื้นดินไปสู่ทะเลมหาสมุทร การระเหยของน้ำจากพื้นดินและแหล่งน้ำจะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา เกิดการหมุนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

                ความชื้นในบรรยากาศ ปริมาณไอน้ำในอากาศจะแตกต่างกันไปตามเวลาและสถานที่ จากที่ที่มีอยู่น้อยที่สุดในอากาศที่แห้งและเย็นบริเวณเขตอาร์คติกไปจนถึงที่มีมากถึงร้อยละ 4-5 ของปริมาณของมวลอากาศในเขตที่มีความชื้นสูงแถบเส้นศูนย์สูตรปริมาณไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศรวมเรียกว่าความชื้นในบรรยากาศ การวัดปริมาณไอน้ำหรือความชื้นในอากาศนิยมวัดเป็นความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งหมายถึงสัดส่วนของปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในบรรยากาศต่อปริมาณความชื้นที่สามารถมีอยู่ได้สูงสุด ในบรรยากาศนั้น ณ อุณหภูมิที่กำหนดให้ ถ้าอากาศอิ่มตัวไปด้วยไอน้ำ ความชื้นสัมพัทธ์จะเท่ากับ 100 เปอร์เซนต์ แต่ถ้าหากมีไอน้ำอยู่เพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณไอน้ำสูงสุดที่สามารถจะอยู่ในอากาศนั้นได้ความชื้นสัมพัทธ์จะเท่ากับ 50 เปอร์เซน เป็นต้น







               
                                                                                                







พลังงานความร้อนจากโลก

                  รังสีคลื่นยาวที่มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 4 ถึง 100 ไมครอน ที่แผ่รังสีออกไปจากวัตถุต่างๆ บนพื้นผิวโลกในรูปของความร้อนซึ่งบางครั้งเราเรียกว่ารังสีความร้อน นั้นก็มีความสำคัญไม่น้อย  วัตถุใดก็ตามที่มีอุณหภูมิสูงกว่าศูนย์องศา สมบูรณ์ จะสามารถแผ่รังสีออกไปจากวัตถุนั้นๆ ได้ แผ่นดินและพื้นน้ำของโลกเราก็เป็นวัตถุที่มีคุณสมบัติดังกล่าวที่สามารถแผ่รังสีได้เช่นกัน ดังนั้นรังสีจากดวงอาทิตย์ที่โลกดูดซับเอาไว้จึงค่อยๆแผ่กลับออกไปสู่บรรยากาศในรูปของความร้อนที่ความยาวคลื่นระหว่าง 4 ถึง 30 ไมครอน   บรรยากาศ ก็เช่นกันจะแผ่รังสีคลื่นยาวกลับมาสู่พื้นโลกและบางส่วนจะแผ่กลับออกไปนอกบรรยากาศ เป็นการระบายถ่ายเทความร้อนออกจากโลก  รังสีคลื่นยาวนั้นต่างกับรังสีที่ถูกสะท้อนกลับ ซึ่งรังสีที่สะท้อนกลับออกไปนั้นยังไม่ได้ถูกดูดซับแต่อย่างใด รังสีคลื่นยาวจากพื้นโลกและในบรรยากาศจะแผ่กลับออกไปอย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน

               สำหรับรังสีคลื่นยาวในช่วงคลื่นที่ไม่แผ่กลับออกไปสู่นอกบรรยากาศก็จะดูดซับโดยไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ แล้วเปลี่ยนรูปเป็นความร้อนทำความอบอุ่นให้กับบรรยากาศของโลก โดยเฉพาะในเวลากลางคืนและในฤดูหนาว เป็นต้น

               ถึงแม้ความเข้ม ของรังสีคลื่นยาวที่แผ่กลับออกไปเมื่อเทียบกับรังสีคลื่นสั้นที่ได้รับจากดวงอาทิตย์จะแตกต่างกันมากก็ตาม แต่พึงจำไว้ว่ารังสีคลื่นยาวที่แผ่กลับออกไปนั้นดำเนินอย่างต่อเนื่องและจากพื้นที่ทุกส่วนของโลก ขณะที่รังสีคลื่นสั้นที่แผ่มายังโลกจะตกถึงโลกก็เฉพาะส่วนของโลกที่เป็นกลางวันเท่านั้น อีกทั้งได้สะท้อนกลับออกไปถึงร้อยละ 34 และตกถึงพื้นโลกจริงๆ เพียงร้อยละ 47 เท่านั้น พลังที่โลกได้รับกับที่ปลดปล่อยออกไปจะต้องสมดุลกัน โลกจึงจะอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ จะเห็นว่าพลังงานความร้อนที่ต้องสูญเสียไปจากโลก นอกจากจะสูญเสียโดยการแผ่รังสีคลื่นยาว ซึ่งโดยสุทธิแล้วต้องสูญเสียไปประมาณร้อยละ 14 แล้วยังสูญเสียไปในรูปของความร้อนแฝงจากการระเหยถึงร้อยละ 23 และสูญเสียไปโดยการนำและการพกพาในรูปของความร้อนที่รู้สึกได้ อีกร้อยละ 10 รวมพลังงานความร้อนที่สูญเสียไปจากโลกเท่ากับร้อยละ 47 ซึ่งสมดุลกับพลังงานที่โลกได้รับดังได้อธิบายไว้ในตอนก่อนเกี่ยวกับพลังงานจากดวงอาทิตย์แล้ว ความสมดุลระหว่างพลังงานที่โลกได้รับกับที่ต้องสูญเสียไปนี้นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์และชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่ในโลก