อุตสาหกรรมอาหารไทยกับกระแสบริโภคอาหารอินทรีย์ในศตวรรษที่ 21
ประเทศไทยได้ประกาศนโยบายด้านอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรในการเป็น “ครัวของโลก” ในปี 2546 โดยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของไทยมีรากฐานการผลิตที่เข้มแข็งกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน บริษัทผู้แปรรูปอาหารรายใหญ่เกือบทั้งหมดเป็นผู้ส่งออก และพึ่งพิงตลาดต่างประเทศค่อนข้างมาก แนวโน้มที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อชนิดและคุณภาพของสินค้าและทำให้โครงสร้างอุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนแปลงมีหลายปัจจัยได้แก่
- ประเทศไทยเป็นประเทศที่เปิดกว้างในการค้า ทำให้มีการใช้วัตถุดิบนำเข้าเพื่อแปรรูปของโรงงานในประเทศค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทสามารถผลิตสินค้าที่หลากหลายและออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาแนะนำตลาดอยู่เนืองๆ
- การเพิ่มความวิตกกังวลและการดูแลสุขภาพ ทำให้คนไทยตื่นตัวในการเลือกบริโภคอาหาร อาหารประเภทแมโครไบโอติกส์ อาหารเจ อาหารสุขภาพจึงได้รับความนิยมมากขึ้นถึงแม้ตลาดจะไม่ใหญ่โตอย่างแถบยุโรป แต่ผู้บริโภคก็ให้ความสนใจสูง มีความต้องการอาหารกลุ่มเพื่อสุขภาพที่ราคาแพง และสะดวกในการบริโภค
- การขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 700 สาขาทั่วประเทศ ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและคาดหวังกับความหลากหลายของสินค้า คุณภาพ และราคามากขึ้นทำให้ธุรกิจค้าปลีกใช้เป็นเงื่อนไขต่อรองผู้ผลิตให้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานสูงขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ทำให้ผู้แปรรูปอาหารหันมาลงทุนผลิตสินค้าพร้อมรับประทานและอาหารแช่แข็งเพิ่มมากขึ้น
- อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวของวัฒนธรรมอาหารยุโรปและธุรกิจสถานบันเทิงและท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายจำนวนร้านค้ามินิมาร์ท ทำให้ช่องทางกระจายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริษัทผู้ผลิตทั้งขนาดใหญ่และ OTOP ต่างได้รับประโยชน์และได้มีการขยายตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้นด้วย
- ร้านแฟรนไชส์ อาหารของต่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งในรูปแบบร้านอาหารและเอาท์เลต เพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิตที่สะดวกสบายของผู้บริโภค การเติบโตของธุรกิจอาหารฟาสต์ฟูดส์ เป็นตัวเร่งให้อุตสาหกรรมอาหารอื่นๆ ขยายตัวด้วย เช่น เบเกอร์รี่ ผลิตภัณฑ์นม อุตสาหกรรมเนื้อสัตว์และไก่
- อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเลของไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ในเอเชีย รองจาก ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย สินค้าที่ผลิตได้มากกว่าร้อยละ 90 เพื่อการส่งออก ดังนั้นการยกระดับคุณมาตรฐานการผลิตจึงเป็นหัวใจสำคัญเพื่อการรักษาตลาด รูปแบบสินค้าที่ส่งออกเป็นอาหารกระป๋องและแช่แข็งประมาณร้อยละ 80 สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ทูน่ากระป๋อง กุ้งแช่แข็ง และหมึกแช่แข็ง
ปัจจุบันเนื่องจากในหลายช่วงศตวรรษที่ผ่านมาระบบการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมอาหารล้วนได้รับอิทธิพลจากกระแสทุนนิยมและส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อวิถีชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม จากเกษตรกร กระบวนการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าถึงมือผู้บริโภค ล้วนมีอันตรายจากสารปนเปื้อนในหลายๆกระบวนการจนกลายเป็นเรื่องปกติและกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไปแล้ว
เมื่อก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ยุคของข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้ผู้คนในยุคนี้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว รวมถึงข่าวสารข้อมูลถึงความไม่ปลอดภัยในคุณภาพของอาหาร ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจในรายละเอียดในคุณภาพอาหารและคุณภาพชีวิตมากขึ้น หลายคนหันมาตื่นตัวกับกระแสบริโภคอาหารอินทรีย์โดยเฉพาะผู้บริโภคในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ กลุ่มประเทศ ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น
ข้อมูลเพิ่มเติม : พัดลมอุตสาหกรรม พัดลมระบายอากาศ พัดลมไอน้ำ ธุรกิจ SMEs ไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น