หลักการทำงานของกังหันลม
กังหันลมหมุนได้เนื่องจากการที่พลังงานจลน์ของกระแสลมผลักดันใบกังหันแล้วทำให้เกิดการหมุนรอบแกนขึ้น การหมุนรอบแกนหรือรอบเพลานี้เกิดได้ 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 เกิดจากแรงผลักดันหรือฉุดลาก ของกระแสลมที่กระทำต่อใบกังหัน หลักการทำงานแบบนี้ได้ใช้กันมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของการใช้กังหันลม ตัวอย่างเช่น แบบเพนีโมน จะเห็นว่าด้านหนึ่งของใบกังหันจะรับลมเต็มที่ ส่วนอีกด้านหนึ่งจะสะบัดไปเป็นมุมเฉียง ทำให้ไม่เกิดแรงต้านต่อกระแสลม กังหันลมแบบนี้แกนหมุนจะตั้งอยู่ในแนวดิ่ง
แบบที่ 2 เป็นแบบที่เกิดจากหลักการแอโรไดนามิก ซึ่งทำให้เกิดแรงยก ของปีกเครื่องบิน ดังนั้น การออกแบบใบกังหันลมจึงมีลักษณะคล้ายกับปีกของเครื่องบิน คือมีความโค้งผิวทั้งสองด้านของใบพัดไม่เท่ากัน ด้านที่มีความโค้งผิวมากกว่าจะมีแรงกดดันน้อยกว่า ส่วนด้านที่มีความโค้งผิวน้อยกว่าจะมีแรงกดดันมากกว่า จึงทำให้เกิดแรงยกบนใบกังหัน
จากหลักการทำงานอันนี้เอง จึงทำให้เกิดกังหันลมอีกแบบหนึ่งขึ้น ที่เรียกว่ากังหันลม แบบแกนนอน ซึ่งการหมุนของแกนหรือเพลาจะอยู่ในแนวระนาบ หรือขนานกับทิศทางของลม
เทคโนโลยีกังหันลม
กังหันลม คือ เครื่องจักรกลที่สามารถรับพลังงานจลน์ จากการเคลื่อนที่ของลมให้เป็นพลังงานกลได้ จากการนำพลังงานกลมาใช้โดยตรง และโดยอ้อม กังหันลมแบ่งออกเป็นประเภทของการจำแนกออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การจำแนกตามลักษณะการวาง
- กังหันลมแบบแกนนอน หมายถึง กังหันลมที่ใช้แกนหมุนขนานกับทิศทางของกระแสลม
- กังหันลมแบบแกนตั้ง หมายถึง กังหันลมที่มีแกนหมุนตั้งฉากกับทิศทางของกระแสลมและตั้งฉากกับพื้นผิวโลก
2. การจำแนกตามลักษณะแรงขับกระแสลมกระทำต่อกังหัน
- เป็นการจำแนกการขับด้วยแรงยก และการขับด้วยแรงฉุด หรือแรงหน่วง
ข้อมูลเพิ่มเติม : การนำกังหันลมไปใช้ พัดลมไอน้ำ พัดลมระบายอากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น