วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แนวโน้มความต้องการอาหารอินทรีย์ของประเทศหลัก

แนวโน้มความต้องการอาหารอินทรีย์ของประเทศหลัก

            แนวโน้มความต้องการอาหารอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศมีอัตราการขยายตัวที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 25 ต่อปี และมูลค่าของตลาดโลกของอาหารอินทรีย์มีมากกว่า 14,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 560,000 ล้านบาท จากการเติบโตของตลาดถือเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะผลิตสินค้าประเภทนี้ป้อนสู่ตลาดโลก เนื่องมาจากประเทศไทยมีปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะปลูกที่ไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีโดยมีตลาดใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ผู้ที่ต้องการส่งออกสินค้าอาหารอินทรีย์ต้องศึกษากฎระเบียบการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของแต่ละประเทศอย่างรอบคอบ เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าเหล่านี้นำกฎระเบียบที่ใช้กับสินค้าที่ผลิตในประเทศของตนมาใช้กับสินค้าที่นำเข้าด้วย
           
            สหรัฐอเมริกา : สหรัฐอเมริกาถือเป็นคู่ค้าสำคัญในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทยที่นิยมบริโภคอาหารอินทรีย์จนมีคำกล่าวที่ว่า “จากนี้ต่อไปสิ่งที่เรียกว่าอาหารนั้นจะต้องเป็นอาหารแบบเกษตรอินทรีย์เท่านั้น” ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรของสหรัฐได้รายงานว่าร้อยละ 60 ของประชากรนิยมซื้ออาหารอินทรีย์แทนอาหารแบบเดิม ซึ่งสินค้าที่จะเข้าไปขายในประเทศสหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องติดฉลาก “เกษตรอินทรีย์” ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐานของสหรัฐฯ

            สหภาพยุโรป : ขณะนี้ EU ได้กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อการทำฟาร์มเกษตรอินทรีย์และอาหารอินทรีย์ซึ่งเป็นแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการทำฟาร์มอินทรีย์โดยจะเน้นในด้านการวางแผนการตลาด การวางนโยบายทางด้านการผลิต การกำหนดมาตรฐานและการตรวจสอบให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ในระดับ EU ได้มุ่งเจาะเป้าหมายตลาดใหม่ โดยหันมายังผู้บริโภคที่ซื้ออาหารอินทรีย์ ซึ่งให้ความสำคัญในด้านราคาเป็นหลักและรัฐบาลให้เงินสนับสนุนช่วยเหลือในอุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตอาหารอินทรีย์มากขึ้นและพยายามศึกษาวิจัยข้อมูลในด้านต่างๆ เพื่อหาวิธีช่วยเหลือให้เกษตรกรอินทรีย์มีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในแง่การรักษาสิ่งแวดล้อมและเป็นการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ยั่งยืนใน UK ควบคู่กันไปด้วย โดยอาหารอินทรีย์ที่จะนำเข้าไปยังยุโรปในแต่ละประเทศจะต้องขออนุญาตก่อนทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวน ชนิด ประเทศที่ผลิตและระยะเวลาที่อนุญาตให้นำเข้าและจะอนุญาตเฉพาะประเทศที่ขออนุญาตนำเข้าเท่านั้น เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าสหภาพยุโรปแล้วสามารถค้ากันได้โดยเสรีระหว่างประเทศสมาชิก

            ญี่ปุ่น : ในประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่นำเข้าอาหารจากต่างประเทศมากกว่า 3.2 ล้านเยนต่อปีและมีแนวโน้มมากขึ้นในอนาคตและเป็นประเทศใส่ใจในรายละเอียดเรื่องสุขภาพมากต้องการอาหารที่ปลอดภัยและสะอาด ในขณะที่สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นเองมีน้อยมากและยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ทั้งหมดแม้จะมีการขยายการผลิตเพิ่มขึ้นทุกปีถึงแม้ญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่พึ่งพาอาหารนำเข้าแต่ก็เป็นประเทศที่มีกฎระเบียบการนำเข้าที่เข้มงวดมากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยมีข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าอาหารอินทรีย์ของญี่ปุ่นคือกำหนดมาตรฐานคุณภาพไว้สูงและต้องใช้ใบรับรองสุขอนามัยปลอดโรคพืชและแมลงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้าผักผลไม้สดจากต่างประเทศผู้ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าอาหารอินทรีย์เข้าไปจำหน่ายในญี่ปุ่นจึงจำเป็นมากที่ต้องปรับมาตรฐานให้เป็นไปตามกฎระเบียบของทางญี่ปุ่นเนื่องมาจากยังคงมีความต้องการการนำเข้าที่สูงอยู่โดยอยู่ภายใต้มาตรฐานกฎระเบียบสินค้าเกษตรฉบับใหม่ของญี่ปุ่นซึ่งจัดทำโดยกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ของญี่ปุ่น กำหนดให้สินค้าอาหารอินทรีย์ที่นำเข้ามายังญี่ปุ่นต้องติดฉลากที่ออกใบรับรองมาตรฐานโดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โดยติดตราสัญลักษณ์ JAS


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น